::: ยินดีต้อนรับทุกๆคนครับ...เชิญพบกับสุดยอดของผู้มีอัจฉริยะของจังหวัดนครสวรรค์ได้แล้วครับ ทำเนียบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ของจังหวัดนครสวรรค์ หมายถึง รายนามพระภิกษุสามเณร ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ แต่ไปสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคที่จังหวัดอื่น หรือพระภิกษุสามเณรที่มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอื่น แต่มาสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคที่จังหวัดนครสรรค์ :::

Wednesday, December 2, 2009

พระมหาประสิทธิ์ ฉายา สิริปญฺโญ นามสกุล ฤทธิ์มหันต์

๑๕.พระมหาประสิทธิ์


ฉายา สิริปญฺโญ

นามสกุล ฤทธิ์มหันต์

อายุ ๔๕

พรรษา ๒๕

วัดมหาธาตุ

กรุงเทพมหานคร

ปีที่สอบได้ ๒๕๔๐



ภูมิลำเนา หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ปัจจุบัน

การศึกษา ป.ธ.๙,พ.ม.พธ.บ.,พธ.ม(ปรัชญา) เป็นเจ้าคณะ ๒๒ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร รองผู้อำนวยการแผนกธรรม เลขานุการ เจ้าคณะภาค ๙ อาจารย์สอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาจำรัส ฉายา อจโล นามสกุล เพ็ชรไพฑูรย์


๑๔.พระมหาจำรัส


ฉายา อจโล

นามสกุล เพ็ชรไพฑูรย์

อายุ ๓๓

พรรษา ๑๓

วัดมหาธาตุ

จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๔๖



ชาติภูมิ



เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ ณ บ้านเลขที่ ๕๑/๒ หมู่ที่ ๑ ต.หนองหลวง อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์



อุปสมบท



เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ณวัดหัวถนนเหนือ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

นามพระอุปัชฌาย์ พระครูนิยุตธรรมประวิตร วัดหัวถนนใต้ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

นามพระกรรมวาจาจาย์ พระสมุห์รอด วัดหัวถนนใต้ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

นามพระอนุสาวนาจารย์ พระครูนิวุตถ์ธรรมสาร วัดหัวถนนเหนือ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์



วุฒิการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๒๖ สอบได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จังหวัดนครสวรรค์

แผนกธรรม

พ.ศ.๒๕๓๓ สอบได้ น.ธ.ตรี ณ วัดหนองหลวง สำนักเรียน คณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๓๔ สอบได้ น.ธ.โท ณ วัดหนองหลวง สำนักเรียน คณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๓๕ สอบได้ น.ธ.เอก ณ วัดหัวถนนเหนือ สำนักเรียน คณะจังหวัดนครสวรรค์

แผนกบาลี

พ.ศ. ๒๕๓๙ สอบได้ประโยค ๑-๒ ณ วัดโพธาราม สำนักเรียน คณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๔๐ สอบได้ ป.ธ. ๓ ณ วัดโพธาราม สำนักเรียน คณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๔๑ สอบได้ ป.ธ.๔ ณ วัดโพธาราม สำนักเรียน คณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๔๒ สอบได้ ป.ธ.๕ ณ วัดมหาธาตุ สำนักเรียน วัดมหาธาตุ

พ.ศ.๒๕๔๓ สอบได้ ป.ธ.๖ ณ วัดมหาธาตุ สำนักเรียน วัดมหาธาตุ

พ.ศ.๒๕๔๔ สอบได้ ป.ธ.๗ ณ วัดมหาธาตุ สำนักเรียน วัดมหาธาตุ

พ.ศ.๒๕๔๕ สอบได้ ป.ธ.๘ ณ วัดมหาธาตุ สำนักเรียน วัดมหาธาตุ

พ.ศ.๒๕๔๖ สอบได้ ป.ธ.๙ ณ วัดมหาธาตุ สำนักเรียน วัดมหาธาตุ



ทำหน้าที่การงาน ทางคณะสงฆ์และสังคม



พ.ศ.๒๕๔๒ขปัจจุบัน เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง

พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นพระอนุจรนำข้อสอบไปเปิดสอบที่ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม จังหวัดศรีสะเกษ

พ.ศ.๒๕๔๔ ป็นพระอนุจรนำข้อสอบไปเปิดสอบที่ วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก

พ.ศ.๒๕๔๖ ป็นพระอนุจรนำข้อสอบไปเปิดสอบที่ วัดหลวงปรีชากูล จังหวัดปราจีนบุรี

พระมหาริด ฉายา ริตเวที นามสกุล ทับเอี่ยม

๑๒. พระมหาริด

ฉายา ริตเวที

นามสกุล ทับเอี่ยม

อายุ ๓๑

พรรษา ๑๐

วัดตากฟ้า

จังหวัดนครสวรรค์

ปีที่สอบได้ พ.ศ. ๒๕๓๗



ชาติภูมิ



เกิด วันพุธที่ ๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๐๗

สถานที่เกิด : บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ ๔ (บ้านหนองน้ำ) ตำบลตากตก อำเภอบ้านตาก

จังหวัดตาก

บรรพชา : วันที่ ๑๓ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๒๑

วัดสันป่าลาน ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

โดยมีพระครูวิศาลกิจจานุวัฒน์ เจ้าคณะตำบลตากออก เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท : วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗

ณ พัทธสีมาวัดตากฟ้า ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

โดยมีพระครูนภเขตคณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอตากฟ้า เป็นพระอุปัชฌาย์

สังกัด วัดตากฟ้า ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

โทรศัพท์ ๐-๕๖๓๕-๙๓๑๖, ๐-๕๖๓๕-๙๑๕๑



การศึกษา



พ.ศ.๒๕๒๔ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดโพธิ์ราษฏร์

สำนักเรียนคณะจังหวัดอ่างทอง

พ.ศ.๒๕๒๖ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค สำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า

สำนักเรียนคณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๓๐ สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค

สำนักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ

พ.ศ.๒๕๓๗ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค

สำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า

สำนักเรียนคณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๔๓ จบการศึกษาปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยนเรศวร



หน้าที่การงานปัจุบัน



๑. เจ้าอาวาสวัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

๒. รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรค์

๓. เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

๔. ผู้จัดการโรงเรียนศรีนภเขตวิทยา (พระปริยัติธรรม แผนสามัญศึกษา)

๕. พระปริยัตินิเทศก์ จังหวัดนครสวรรค์

๖. ผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑

๗. ประธานกรรมการมูลนิธิวัดตากฟ้า

๘. อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์

๙. กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๓

๑๐. กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ จังหวัดนครสวรรค์

๑๑. กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์



ผลงานดีเด่น



พ.ศ.๒๕๓๘ เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี

พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับโล่วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น

พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา ด้วยความเห็นชอบของประธานสภาการศึกษา

ของคณะสงฆ์ ให้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับเกียรติบัตร วัดที่จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และบาลีดีเด่น

จากคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี จังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ.๒๕๔๔ สำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม

แผนกบาลี ประจำจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ ๑ โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม

ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๔

พ.ศ.๒๕๔๔ รับโล่เกียรติคุณ ในฐานะหน่วยงานที่จัดหรือสนับสนุนการจัดการศึกษา

นอกโรงเรียนดีเด่น จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตร สำนักศาสนศึกษาที่มีนักเรียนผ่านการทดสอบตามหลักสูตร

การอบรมระยะสั้นของคณะสงฆ์ภาค ๔ เป็นอันดับ ๑ จากโครงการอบรมบาลี

ก่อนสอบสนามหลวง คณะสงฆ์ภาค ๔

พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

ด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม

พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับประกาศเกียรติคุณดีเด่น ด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

และบาลี จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับเกียรติบัตร ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น

ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ มหาราชินี

จาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ



สมณศักดิ์



พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ

ที่ พระศรีสุทธิเวที

พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช

ที่ พระราชปัญญาเวที

ส.ณ.วิวัธน์ นามสกุล บุญวัตร

๑๒.ส.ณ.วิวัธน์

ฉายา-

นามสกุล บุญวัตร

อายุ ๒๑

พรรษา –

วัดเก้าเลี้ยว

จังหวัดนครสวรรค์

ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๓๗

(เป็นนาคหลวง)



ลาสิกขา

รับราชการ

ไม่ทราบรายละเอียดอื่นๆ

พระมหาสุบิน ฉายา สุเมโธ นามสกุล สังข์คต

๑๑.พระมหาสุบิน

ฉายา สุเมโธ

นามสกุล สังข์คต

อายุ ๒๒

พรรษา ๒

วัดท่าพระเจริญพรต

จังหวัดนครสวรรค์

ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๓๕



ลาสิกขา

ไม่ทราบรายระเอียดอื่นๆ

พระมหาสมส่วน ฉายา ปฏิญาโณ นามสกุล เพ็งสุข

๑๐.พระมหาสมส่วน

ฉายา ปฏิญาโณ

นามสกุล เพ็งสุข

อายุ ๓๓

พรรษา ๑๓

วัดนครสวรรค์

จังหวัดนครสวรรค์

ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๓๕



ปัจจุบัน

การศึกษา ป.ธ.๙,พธ.บ.,กศม.
เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสุทธิพงศ์ วัดศรีสุธรรมาราม

เจ้าคณะอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

พระมหาสฤษดิ์ ฉายา สิริธโร นามสกุล ประธาตุ

๙.พระมหาสฤษดิ์

ฉายา สิริธโร

นามสกุล ประธาตุ

อายุ ๓๑

พรรษา ๑๑

วัดราชบูรณะ

จังหวัด กรุงเทพมหานคร

ปีที่สอบได้ พ.ศ. ๒๕๓๒







ชาติภูมิ



เกิด วันศุกร์ที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ที่บ้านห้วยร่วม ต. ห้วยร่วม อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์



อุปสมบท



วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ วัดห้วยร่วม ตำบลห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีพระครูนิรุติธรรมธร วัดห้วยร่วม เป็นพระอุปัชฌาย์



วิทยฐานะ



พ.ศ. ๒๕๑๗ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดห้วยร่วม

อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์



พ.ศ. ๒๕๓๒ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดราชบูรณะวรวิหาร

เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



พ.ศ. ๒๕๔๓ สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา (กศ.ม.)

จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก



พ.ศ. ๒๕๔๙ สำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (พธ.ด.)

จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

The Degree of Philossphy (Buddhist Studies)



พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์)

จากมหาวิทยาลัยภาคกลาง จ.นครสวรรค์

Ah Honorary Doctoratc Dcgtcc in Public Administration



งานปกครอง



พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นเจ้าคณะ ๓ พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์

เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นรองเจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์

เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค ๔

พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นเจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์



สมณศักดิ์



พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร-พัดยศ

เปรียญธรรม ๙ ประโยค

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ

ในราชทินนามที่ พระศรีวิสุทธิคุณ

พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช

ในราชทินนามที่ พระราชปริยัติ

พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ

ในราชทินนามที่ พระเทพปริยัติเมธี



สังกัดวัด วัดนครสวรรค์ (พระอารามหลวง) ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

โทร ๐-๕๖๒๒-๐๐๐๖

พระมหาเสนาะ ฉายา รตนปญฺโญ นามสกุล ผดุงฉัตร

๘.พระมหาเสนาะ

ฉายา รตนปญฺโญ

นามสกุล ผดุงฉัตร

อายุ ๒๔

พรรษา ๑

วัดประดิษฐาราม

จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๑๗





ชาติภูมิ(กำลังรวบรวมข้อมูล)



การศึกษา



-M.A.รัฐศาสตร์ จากประเทศอินเดีย

-พธด.(พระพุทธศาสนา) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



หน้าที่การงาน



-รับราชการ เป็นนักวิชาการศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

-ตำแหน่งสุดท้าย นักวิชาการ 8 ว

-อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

-รองประธานกรรมการคนที่ ๓ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมัยที่ ๑๗ (พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๕)

-เกษียณอายุราชการแล้ว



วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก



ชื่อวิทยานิพนธ์ : การศึกษาเชิงวเคราะห์อานาปานัสสติกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค

ชื่อผู้วิจัย : นายเสนาะ ผดุงฉัตร

ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต( พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต )



งานเขียน



ดร.เสนาะ ผดุงฉัตร เขียนหนังสือและบทความทางด้านพุทธศาสนาหลายเรื่องลงในวารสารทางวิชาการต่างๆ เช่น แนวทางการปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชน, หลักวาทศาสตร์,คิดได้คิดเป็น,ธรรมดาพาไป,โสตถิธรรม,อยู่ที่พอใจ,คู่มือวิชาสัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.๓,อานาปานสติกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ

พระมหาทองใบ ฉายา ธีรานันโท นามสกุล หงษ์เวียงจันทร์

๗.พระมหาทองใบ

ฉายา ธีรานนฺโท

นามสกุล หงษ์วียงจันทร์

อายุ ๒๔

พรรษา ๔

วัดมหรรณพาราม

จังหวัดพระนคร

ปีที่สอบได้ พ.ศ. ๒๕๑๖



ชาติภูมิ



เกิดเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ ที่บ้านหัวดงใต้ ต.หัวดง อ.บรรพตพิสัย(ปัจจุบันขึ้นอยู่กับเก้าเลี้ยว) จ.นครสวรรค์

เปลี่ยนนามสกุล จาก หงษ์เวียงจันทร์ เป็น ธีรานันทางกูร



การศึกษา



-ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม(พ.ม.)

-พุทธศาสตรบัณฑิต สาขามนุษยสงเคราะห์ศาสตร์(เกียรตินิยมอันดับสอง) จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

-M.A. รัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ ประเทศอินเดีย

-M.Phil.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก London School of Economics and Political Science(LSE) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ



หน้าที่การงาน



-ลาสิกขา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗

-เป็นอาจารย์สอนที่ โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง อ.ศรีมหาโพธิ จ. ปราจีนบุรี(พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๓)

-รับราชการ แผนกผลิตข่าว กรมข่าว ทหารเรือ(พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๓)

-ได้รับทุนกองทัพเรือศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ(พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๗)

-ย้ายมาเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนนายเรือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ หลังสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ(๒๕๒๗-๒๕๕๒)

-วิชาที่สอนประจำ วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ,กฎหมายระหว่างประเทศ, รัฐศาสตร์,จริยศาสตร์, ปรัชญา,ศาสนาเปรียบเทียบ,องค์การระหว่างประเทศ

-เป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาจริยศาสตร์ ณ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคม

-เป็นอาจารย์พิเศษ สอนหลักสูตรปริญญาโท สถาบันราชภัฏธนบุรี(ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี)

-ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

-ยศครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พลเรือตรี



ปัจจุบัน


-เป็นที่ปรึกษาพิเศษ กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ

-เป็นอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ห้องเรียนวัดโกเมศรัตนาราม ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี สอนวิชาศาสนศึกษา, วิชารัฐศาสตร์ทั่วไป, วิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง

-เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ห้องเรียนวัดโกเมศรัตนาราม ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

-เป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชา จิตวิทยาทั่วไป(General Psychology), และวิชา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง (Society, Economy and Politics) โปรแกรมภาษาอังกฤษ(English Program) ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  (Siam Technology College) ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กทม.




งานทางสังคม



-เป็นกรรมการบริหาร (อุปนายก,ประชาสัมพันธ์,บรรณาธิการวารสารสามัคคีสาร และวารสารสารพัด)ของสามัคคีสมาคม (สมาคมนักเรียนไทยประเทศอังกฤษ) ในพระบรมราชูปถัมภ์ แห่งสหราชอาณาจักร(ระหว่างศึกษาอยู่ ณ ประเทศสหราชอาณาจักร)

-เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาภาษาไทย ณ School of Oriental and African Studies(SOAS)มหาวิทยาลัยลอนดอน

-เป็นเลขานุการกรรมการที่ปรึกษา ชมรมพุทธศาสตร์ โรงเรียนนายเรือ



งานเขียนงานแปล



อัตชีวประวัติโยคี,บันทึกลับจากค่ายนรกนาซี, นอสตราดามุสทำนายจุดอวสานของโลก, สัมผัสที่ ๖ พลังลึกลับนอกมิติโลก,เปิดปูมชีวประวัติราชาโหรโลกนอสตราดามุส,มงคลพิธี,พุทธธรรมมหายานแบบญี่ปุ่น, ดวงดาวเผยลักษณะชายในชีวิตคุณ,พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ,พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ฯลฯ



พระมหาธัญนพ ฉายา โชติปาโล นามสกุล ผิวเผือก

๖. พระมหาธัญนพ

ฉายา โชติปาโล

นามสกุล ผิวเผือก

อายุ ๒๙

พรรษา ๘

วัดภาวนาภิรตาราม

จังหวัดธนบุรี

ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๐๔



ชาติภูมิ อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์



หน้าที่การงาน

-ลาสิกขา

-เป็นอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

-ตำแหน่งสุดท้าย ผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

-เป็นวิทยากรประจำ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)

-เป็นประธานที่ปรึกษาเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี



บั้นปลายชีวิต



ถึงแก่กรรมเมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒

พระมหาเช้า ฉายา ฐิตปญฺโญ นามสกุล ยศสมบัติ



๕.พระมหาเช้า

ฉายา ฐิตปญฺโญ

นามสกุล ยศสมบัติ

อายุ ๓๑

พรรษา ๑๑

วัดเขาแก้ว

จังหวัดนครสวรรค์



ชาติภูมิ



เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2452 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา ณ บ้านพยุหะ ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ บิดาชื่อโฉม มารดาชื่อน้อย มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน



หน้าที่การงาน





ย้ายมาอยู่ที่วัดโพธาราม



เมื่อ พ.ศ. 2495 ท่านได้ย้ายจากวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี ไปเป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธาราม อำเภอเมืองนครสวรรค์ ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม เมื่อ พ.ศ. 2498 วัดโพธารามได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2506



เป็นกรรมการมหาวิทยาลัย



เป็นกรรมการสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2490) เป็นกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2506)



เดินทางไปต่างประเทศ



-เป็นพระสังคีติการกะในการทำฉัฏฐสังคายนาพระไตรปิฎกก ที่กรุงร่างกุ้ง ประเทศพม่า ระหว่าง 11 ธันวาคม 2498- 22 กุมภาพันธ์ 2499



-เดินทางไปสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า อินเดีย ลังกา และสิงคโปร์ ท่านได้ขอพระสงฆ์ชาวพม่าและลังกามาเป็นอาจารย์สอนพระไตรปิฏกและบาลีไวยากรณ์ชั้นสูงในวัดโพธาราม พม่าส่งอาจารย์มาให้ 2 รูป คือ พระอูธัมมานันทะ และพระอูโสภณะ ลังกาส่งมาให้ 1 รูป คือ พระสุมังคละ



เป็นนักการศึกษา



-ท่านได้ส่งเสริมการศึกษามาโดยตลอด ทั้งด้านธรรม บาลี และสายสามัญ ท่านได้จัดการศึกษาบาลีและพระอภิธรรมขึ้นในวัดโพธาราม (พ.ศ. 2495) เปิดการสอนภาษาอังกฤษแก่พระภิกษุสามเณร (พ.ศ. 2499) เปิดโรงเรียนผู้ใหญ่มัธยมศึกษาตอนต้นในวัดโพธาราม (พ.ศ. 2499) และตั้งโรงเรียนสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์แก่เยาวชนโรงเรียนสัตตาหศึกษา (พ.ศ.2510)



-ก่อตั้งโรงเรียนราษฏร์ของวัดเขาแก้ว ชื่อโรงเรียนพยุหะวิทยา เปิดทำการสอนสายสามัญตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ชั้น ม.6 จนถึงปัจจุบัน ได้รับอนุมัติเป็นโรงเรียนราษฏร์การกุศลของวัด รับนักเรียนโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน



สมณศักดิ์



ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะตามลำดับดังนี้

- พระเมธีวรคณาจารย์ (พ.ศ. 2490)

- พระราชเมธีวรคณาจารย์ (พ.ศ. 2497)

- พระเทพเมธาจารย์ (พ.ศ. 2502)

- พระธรรมคุณาภรณ์ (พ.ศ. 2506)





ในบั้นปลายชีวิต



พระธรรมคุณาภรณ์ได้อาพาธด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 ท่านได้รับการรักษาพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และโรงพยาบาลศิริราช ตลอดมา จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513 อายุได้ 61 ปี

พระมหาวิเชียร ฉายา วิธุโร นามสกุล บำรุงผล

๔.พระมหาวิเชียร

ฉายา วิธุโร

นามสกุล บำรุงผล

อายุ 28

พรรษา 8

วัดมหาธาตุ

พระนคร

ปีที่สอบได้ พ.ศ.2481



ภูมิลำเนา เป็นชาวนครสวรรค์



-พ.ศ.2490 เป็นพระราชาคณะที่ พระวิเชียรโมลี

-พ.ศ.2493 ลาสิกขา

-รับราชการ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตำแหน่งหัวหน้าแผนกกลาง สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม

พระมหาเจริญ ฉายา กิตติภทฺโท นามสกุล อินทรเกษตร

๓.พระมหาเจริญ
ฉายา กิตฺติภทฺโท
นามสกุล อินทรเกษตร
อายุ ๒๔
พรรษา ๔
วัดมหาธาตุฯ
จังหวัดพระนคร
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๔๗๕

ภูมิลำเนา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

หน้าที่การงานในภายหลัง

-ลาสิกขา
-สำเร็จปริญญา ธรรมศาสตร์บัณฑิต(ธ.บ.) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-รับราชการในราชบัณฑิตยสถาน
-เป็นกรรมการชำระปทานุกรม-พจนานุกรม หลายคณะ
-เป็นเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน

เสียชีวิต พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสังกระจายวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑

พระมหาแปลก ฉายา เปสโล นามสกุล สนธิรักษ์



๒.พระมหาแปลก
ฉายา เปสโล
นามสกุล สนธิรักษ์
อายุ ๒๔
พรรษา ๔
วัดมหาธาตุ
จังหวัด พระนคร
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๔๗๕

ชาติภูมิ


เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2452 ที่บ้านบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายพันและนางเกลี้ยง สนธิรักษ์ มีพี่สาว 2 คนและน้องสาว 2 คน จึงเป็นลูกชายคนเดียวที่พ่อแม่พยายามจะให้ได้รับการศึกษา ซึ่งทางเลือกทางเดียวของชาวบ้านในยุคนั้นคือ การให้บวชเป็นสามเณร ท่านจึงถูกส่งไปบวชเณรโดยอาจารย์เกษม บุญศรี และพระครูนิภาสธรรมคุณ (หลวงพ่ออ่อน วัดบางมะฝ่อ) พาไปฝากไว้กับสำนักวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร


หน้าที่การงานในภายหลังลาสิกขา

-ลาสิกขาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒
-เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก
-พ.ศ.๒๔๙๕ ขอโอนไปดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวัฒนธรรมสัมพันธ์ กรมการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
-พ.ศ.๒๕๐๑ ขอโอนไปดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวัฒนธรรม สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
-เป็นอาจารย์พิเศษในหลายสถาบันการศึกษา
-มีผลงานการแต่งหนังสือตีพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนมาก เช่น พิธีแต่งงาน ศัพท์ศาสนา พจนานุกรมบาลี-ไทย พิธีกรรม-ลัทธิประเพณี มารยาทไทย นิทานไทย นิทานชาดก เป็นต้น

ตัวอย่าง หนังสือแต่งโดยอาจารย์แปลก

พิธีแต่งงาน (ปกแข็งสี่สี)
ISBN 9740017877
เขียนโดย แปลก สนธิรักษ์
พิมพ์ที่ องค์การค้าของคุรุสภา
พิมพ์ปี 2526





บั้นปลายชีวิต

อาจารย์แปลก สนธิรักษ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ รวมอายุได้ ๘๒ ปีเศษ

พระมหาธนิต ฉายา อตฺตเวที นามสกุล อยู่โพธิ์



๑.พระมหาธนิต
ฉายา อตฺตเวที
นามสกุล อยู่โพธิ์
อายุ ๒๖
พรรษา ๖
สำนักวัดมหาธาตุ
จังหวัดพระนคร
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๔๗๕

ชาติภูมิ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ที่บ้านหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

หน้าที่การงานในภายหลัง

-ลาสิกขา
-รับราชการ กรมศิลปากร ตำแหน่งสุดท้าย เป็นอธิบดีกรมศิลปากร(พ.ศ.๒๔๙๙- ๒๕๑๑)
-เขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย
-ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิติตติมศักดิ์ สาขาภาษาตะวันออก จากมหาวิทยาลัยศิลปากร(พ.ศ.๒๕๓๒)
-เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ(ถึงแก่กรรม) สาขาการพัฒนาสังคม(ด้านศิลปวัฒนธรรม) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๕

คำประกาศเกียรติคุณ

นายธนิต อยู่โพธิ์ บุคคลดีเด่นของชาติ (ถึงแก่กรรม) สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านศิลปวัฒนธรรม) ประจำพุทธศักราช ๒๕๓๕ อดีตเด็กวัดมหาธาตุ ลูกชาวนาจากจังหวัดนครสวรรค์ ในตอนปฐมวัยบรรพชาอุปสมบทใน พระพุทธศาสนา อุตสาหะเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนมีความรู้ความสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคซึ่งเป็นวุฒิสูงสุดของการศึกษาแห่งคณะสงฆ์ไทย เมื่อลาสิกขาบทแล้วได้ออกไปรับราชการ ด้วยความสัตย์ซื่อและขยันขันแข็ง ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งจนเป็นข้าราชการสูงสุดในกรมศิลปากรจนได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดี ขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทำประโยชน์ยิ่งต่อประเทศชาติเหลือ คณนา และเมื่อเกษียณอายุราชการก็กลับเข้าวัดปฏิบิติวิปัสสนากรรมฐาน ในที่สุดก็ได้รับผลของ การปฏิบัติวิปัสสนาสมความมุ่งหมายเมื่อออกจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้อุตสาห รจนาหนังสือตำราเกี่ยวกับพระศาสนามากมายหลายเล่ม ล้วนแต่เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ เป็น อุบาสกผู้มีความรู้พร้อมทั้งคันธุระและวิปัสสนาธุระคนหนึ่ง ซึ่งหาได้ยากยิ่งในโลกปัจจุบัน ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติ มีความเพียรอุตสาหวิริยะควรแก่การยกย่อง เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่น หลังดังกล่าว คือ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมสิลปากร บุคคลดีเด่นของชาติสาขาการพัฒนา สังคมด้านศิลปวัฒนธรรม ปี พ.ศ ๒๕๓๕

อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ เขียนหนังสือไว้หลายเรื่อง ตัวอย่างเช่น

หนังสือเรื่อง อานิสงส์วิปัสสนากัมมัฏฐาน



หนังสือเรื่อง กิตติคุณหลวงพ่อเดิม



บั้นปลายของชีวิต

อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ เสียชีวิต เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๗

Google